Buddhism Learning Steps
by
การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ
Date: 2014/06/27
ต่อไปจะเป็นพระสูตรเดียวกันทั้งหมด เพียงแต่เป็นสำนวนแปลต่างกันในภาษาไทย และภาษาบาลีใช้อักษรต่างกัน
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ 13 ข้อ 238
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรก เท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำ โดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้
- เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้
- เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้
- เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง
- เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม
- ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว
- เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ
- เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด
- เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ
- ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง
- ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร
- เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี การฟังธรรม ก็ดี ความพิจารณาเนื้อความก็ดี ธรรมอันทนได้ซึ่งความพินิจก็ดี ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี การไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร.
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า 653
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่กล่าว การประสพความพอใจใน อรหัตตผล ด้วยการกระทำอันดับแรกเพียงอันดับเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็แต่ว่า การประสพความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ
เพราะการกระทำ โดยลำดับ เพราะการปฏิบัติ โดยลำดับ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็การประสพความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้ เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดย
เป็นอย่างไรเล่า ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษบุคคลในกรณีนี้ :
- เป็นผู้มีสัทธาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเข้าไปหา;
- เมื่อเข้าไปหา ย่อมเข้าไปนั่งใกล้;
- เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ;
- ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ย่อมได้ฟังธรรม;
- ครั้นฟังแล้ว ย่อมทรงจำธรรมไว้, ย่อมใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลายที่ตนทรงจำไว้;
- เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่, ธรรมทั้งหลาย ย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์;
- เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่ ฉันทะ (ความพอใจ) ย่อมเกิด;
- ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อมมีอุตสาหะ;
- ครั้นมีอุตสาหะแล้ว ย่อมใช้ดุลยพินิจ (เพื่อหาความจริง);
- ครั้นใช้ดุลยพินิจ (พบ) แล้ว ย่อมตั้งตนไว้ในธรรมนั้น;
- ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งบรมสัจจ์ด้วยกายด้วย, ย่อมเห็นแจ้งแทงตลอดซึ่งบรมสัจจ์นั้นด้วยปัญญา ด้วย.
( สำนวนนี้มีคำแปลถึงเท่านี้ )
พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 13 ข้อ 238
(อาจจะกลับมาจัดย่อหน้าให้ตรงกับภาษาไทยทีหลังนะครับ)
นาห ภิกฺขเว อาทิเกเนว อฺาราธน วทามิ อปิจ ภิกฺขเว อนุปุพฺพสิกฺขา อนุปุพฺพกิริยา อนุปุพฺพปฏิปทา อฺาราธนา โหติ ฯ กถฺจ ภิกฺขเว อนุปุพฺพสิกฺขา อนุปุพฺพกิริยา อนุปุพฺพปฏิปทา อฺาราธนา โหติ ฯ อิธ ภิกฺขเว สทฺธาชาโต อุปสงฺกมติ อุปสงฺกมนฺโต ปยิรุปาสติ ปยิรุปาสนฺโต โสต โอทหติ โอหิตโสโต ธมฺม สุณาติ สุตฺวา ธมฺม ๑ ธาเรติ ธตาน ๒ ธมฺมาน อตฺถ อุปปริกฺขติ อตฺถ อุปปริกฺขโต ธมฺมา นิชฺฌาน ขมนฺติ ธมฺมนิชฺฌานกฺขนฺติยา ๓ สติ ฉนฺโท ชายติ ฉนฺทชาโต อุสฺสหติ อุสฺสหิตฺวา ๓ ตุเลติ ตุลยิตฺวา ปทหติ ปหิตตฺโต สมาโน กาเยน เจว ปรม สจฺจ สจฺฉิกโรติ ปฺาย จ น อติวิชฺฌ ปสฺสติ ฯ สาปิ นาม ภิกฺขเว สทฺธา นาโหสิ ตมฺปิ นาม ภิกฺขเว อุปสงฺกมน นาโหสิ สาปิ นาม ภิกฺขเว ปยิรุปาสนา นาโหสิ ตมฺปิ นาม ภิกฺขเว โสตาวธาน นาโหสิ ตมฺปิ นาม ภิกฺขเว ธมฺมสฺสวน นาโหสิ สาปิ นาม ภิกฺขเว ธมฺมธารณา นาโหสิ สาปิ นาม ภิกฺขเว อตฺถุปปริกฺขตา ๕ นาโหสิ สาปิ นาม ภิกฺขเว #๑ ม. ธมฺเมสุ ฯ ๒ ม. ธาตาน ฯ ๓ ม. ธมฺมานิชฺ… ฯ ๔ ม. อุสฺสาเหตฺวา ฯ #๕ ยุ. อตฺถูปปริกฺขา ฯ
ธมฺมนิชฺฌานกฺขนฺติ นาโหสิ โสปิ นาม ภิกฺขเว ฉนฺโท นาโหสิ โสปิ นาม ภิกฺขเว อุสฺสาโห นาโหสิ สาปิ นาม ภิกฺขเว ตุลนา นาโหสิ ตมฺปิ นาม ภิกฺขเว ปธาน นาโหสิ วิปฺปฏิปนฺนาตฺถ ๑ ภิกฺขเว มิจฺฉาปฏิปนฺนาตฺถ ๒ ภิกฺขเว กีวทูเรวิเม ภิกฺขเว โมฆปุริสา อปกฺกนฺตา อิมสฺมา ธมฺมวินยา ฯ
Majjhimanikāye - Majjhimapaṇṇāsapāḷi ข้อที่ 183
‘‘Nāhaṃ, bhikkhave, ādikeneva aññārādhanaṃ vadāmi; api ca, bhikkhave, anupubbasikkhā anupubbakiriyā anupubbapaṭipadā aññārādhanā hoti. Kathañca, bhikkhave, anupubbasikkhā anupubbakiriyā anupubbapaṭipadā aññārādhanā hoti? Idha, bhikkhave, saddhājāto upasaṅkamati, upasaṅkamanto payirupāsati, payirupāsanto sotaṃ odahati, ohitasoto dhammaṃ suṇāti, sutvā dhammaṃ dhāreti, dhatānaṃ #2 dhammānaṃ atthaṃ upaparikkhati, atthaṃ upaparikkhato dhammā nijjhānaṃ khamanti, dhammanijjhānakkhantiyā sati chando jāyati, chandajāto ussahati, ussāhetvā tuleti, tulayitvā padahati, pahitatto samāno kāyena ceva paramasaccaṃ sacchikaroti, paññāya ca naṃ ativijjha passati. Sāpi nāma, bhikkhave, saddhā nāhosi; tampi nāma, bhikkhave, upasaṅkamanaṃ nāhosi; sāpi nāma, bhikkhave, payirupāsanā nāhosi; tampi nāma, bhikkhave, sotāvadhānaṃ nāhosi; tampi nāma, bhikkhave, dhammassavanaṃ nāhosi; sāpi nāma, bhikkhave, dhammadhāraṇā nāhosi; sāpi nāma, bhikkhave, atthūpaparikkhā nāhosi; sāpi nāma, bhikkhave, dhammanijjhānakkhanti nāhosi; sopi nāma, bhikkhave, chando nāhosi; sopi nāma, bhikkhave, ussāho nāhosi; sāpi nāma, bhikkhave, tulanā nāhosi; tampi nāma, bhikkhave, padhānaṃ nāhosi. Vippaṭipannāttha, bhikkhave, micchāpaṭipannāttha, bhikkhave. Kīva dūrevime, bhikkhave, moghapurisā apakkantā imamhā dhammavinayā.
tags: